คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ชื่องานวิจัย  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ

ปริญญานิพนธ์ของ  ปานิตา กุดกรุง



ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ

ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้ครูระดับปฐมวัย ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำ
วัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ซึ่งการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์นี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random
Sampling) ดังนี้
1. เลือกห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน
2. จับสลากนักเรียนในข้อ 1 มาจำนวน 15 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (วันจันทร์ - วันพุธ - วันศุกร์) วันละ 50 นาที
เวลา 9.10 - 10.00 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้น


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ทดสอบเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง (Pretest) ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง โดยให้กลุ่มทดลองทำกิจกรรมในช่วงกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที โดยจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ จัดในช่วงเวลา 09:10 - 10:00 . รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง
(posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นชุดเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง
4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ

สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการนับ ด้านการเปรียบเทียบ และด้าน
การจัดลำดับ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับ
สมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.33 ของความสามารถเดิมก่อนได้รับการจัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์โดยด้านการจัดลำดับเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับแรกได้คะแนนร้อยละ 78.62 รองลงมา
ด้านการนับได้คะแนนร้อยละ 58.50 และด้านการเปรียบเทียบได้คะแนนร้อยละ 46.60 ตามลำดับ
ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

วันนี้อาจารย์เปิดให้ดูตัวอย่างงาน มีดังนี้

-  ตารางแผนภูมิเด็กที่ชอบดื่มนมรสต่างๆ

- แมปอาหารที่มีรสนมเป็นส่วนประกอบ

- แมปแปรงฟัน  วิธีการแปรงฟัน

- ตารางเปรียบเทียบความเหมือน-ต่าง  ระหว่างเด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย

- ตารางประโยชน์  และโทษของนม

- แมปวิเคราะห์ส่วนผสมของขนมครกข้าว

- ตารางการสังเกตลักษณะนมชนิดต่างๆ  ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5

-ผลงานคณิตศาสตร์ผ่านงานศิลปะของเด็กๆ



นอกจากนี้เพื่อนๆยังออกไปสอนเรื่องข้าว และสับปะรดอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556

วันนี้กลุ่มของฉันออกมาสอนเรื่อง ไข่



หลังจากออกไปสอนแล้ว  อาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้

- เปิดเรื่องต้องให้น่าตื่นเต้นโดยการปิดของมาก่อนแล้วให้เด็กๆลองทายดู


- การนับ  แทนที่เราจะบอกว่ามีอะไรบ้าง ให้ถามว่ามีอยู่เท่าไหร่

               ในขณะที่นับให้วางของเรียงกันด้านหน้า แล้วพูดว่ามีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2.....

- การแบ่ง ให้ใช้สีเดียวเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง เช่น แบ่งเป็นที่มีสีขาว กับที่ไม่มีสีขาว

                 ใช้คำถามว่าเด็กๆลองดูสิว่าไข่เป็ดกับไข่ไก่เท่ากันหรือไม่

                 สมมติว่ามีไข่อยู่ 8 ฟอง ให้เด็กหยิบไข่ไก่ออกมา 4 ฟอง  ที่เหลือแสดงว่าเป็นไข่เป็ดนั่นเอง

- การสังเกต สังเกตรูปทรง  สี  กลิ่น  พื้นผิว  ส่วนประกอบ

                   ให้เด็กสังเกตทีละชนิด  ส่งเป็น 2 ฝั่ง

                   สรุปสิ่งที่สังเกตลงในตาราง

                   เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง









วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอแผนการสอน
กลุ่มของฉันนำเสนอหน่วย  ไข่


วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13 วันที่ 25 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์สอนเรื่องมาตรฐานคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยหัวข้อ  จำนวนและการดำเนินการ  สรุปได้ดังนี้






วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12 วันที่ 18 มกราคม 2556

วันนี้ส่งงานกลุ่มซึ่งกลุ่มของฉันทำแมปการเรียนรู้เรื่องไข่

ซึ่งอาจารย์สอนเรื่องเทคนิคในการเลือกหน่วยการเรียนรู่เพื่อสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยดังนี้

- เรื่องที่เลือกมาสอนจะต้องมีประโยชน์กับเด็ก

- หน่วยการเรียนรู้นั้นจะต้องมีลักษณะดังนี้
   1. ใกล้ตัวเด็ก
   2. มีผลกระทบกับเด็ก
   3. มีความจำเป็นกับเด็ก
   4. มีความเหมาะสมกับเด็ก
   5. เลือกเรื่องท่ครูพอจะสนับสนุนได้
   6. ครูจะต้องวิเคราะห์เรื่องที่จะนำมาสอนก่อน

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11 วันที่ 11 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอสื่อลูกคิด
การประยุกต์ใช้งาน
- สามารถใช้นับจำนวนได้
- สามารถใช้ในชีวิตประจำวันโดยการนับวันในแต่ละเดือน

กลุ่มที่ 2  นำเสนอสื่อแผนภูมิ  กราฟนำเสนอข้อมูล
การประยุกต์ใช้งาน
- สามารถเป็นสื่อในการเปรียบเทียบจำนวนมากที่สุด  น้อยที่สุด  หรือเท่ากัน
- กราฟนำเสนอข้อมูลสามารถใช้ได้บ่อยเพราะเปลี่ยนหัวเรื่องได้

กลุ่มที่ 3 นำเสนอสื่อปฏิธิน
การประยุกต์การใช้งาน
- สามารถใช้ใส่วันได้
- สามารถใช้ใส่วันเกิดเพื่อนในห้องได้
- สามารถใช้ใส่วันสำคัญต่างๆได้
- สามารถใช้ใส่สภาพอากาศในแต่ละวันได้

กลุ่มที่ 4  นำเสนอสื่อป้ายนับจำนวนเด็ก
การประยุกต์ใช้
- สามารถใช้ตรวจสอบรายชื่อเด็กที่มาเรียนได้
- สามารถใช้ตรวจสอบรายชื่อเด็กที่ขาดเรียนได้

กลุ่มของฉันนำเสนอสื่อลูกคิด



สื่อของเพื่อนๆ





วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 10 วันที่ 4 มกราคม 2556

วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม  ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย  ซึ่งกลุ่มของฉันก็ทำสื่อลูกคิดจากฝาขวดน้ำ  ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

อุปกรณ์
1. ฝาขวดน้ำพลาสติก  จำนวน 40 ฝา
2. ฟิวเจอร์บอร์ด  1  แผ่น
3. เชือก
4. ค้อน  ตะปู
5. เทปใส
6. ตะขอ
7. ด้าย  เข็ม
8.กระดาษ

วิธีทำ
1. ใช้ตะปูเจาะรูตรงกลางของฝาขวดน้ำทั้งหมด  เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร
2. ตัดฟิวเจอร์บอร์ดตามขนาดดังภาพ
3. ใช้เทปใสติดฟิวเจอร์บอร์ดให้แน่น
4.เย็บตะขอติดส่วนบนให้แน่น  ทั้ง 4 ช่อง
5. ตัดเชือกให้มีความยามพอดีกับฐานลูกคิด  ร้อยฝาขวดใส่ลงไป เส้นละ 0-10 ลูกตามการใช้งาน
6. เขียนหมายเลขต่างๆลงในกระดาษเพื่อกำกับจำนวนลูกคิด