ปริญญานิพนธ์ของ ปานิตา กุดกรุง
ความมุ่งหมายของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ความสำคัญของการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางให้ครูระดับปฐมวัย ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำ
วัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ซึ่งการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์นี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย - หญิง อายุระหว่าง 4 - 5 ปี
ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดมะพร้าวเตี้ย สำนักงานเขตภาษีเจริญ
สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi Stage Random
Sampling) ดังนี้
1. เลือกห้องเรียน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 35 คน
2. จับสลากนักเรียนในข้อ 1 มาจำนวน 15 คน เพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งจัดกระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (วันจันทร์ - วันพุธ - วันศุกร์) วันละ 50 นาที
เวลา 9.10 - 10.00 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
สมมติฐานในการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ทดสอบเด็กปฐมวัยก่อนการทดลอง (Pretest) ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง โดยให้กลุ่มทดลองทำกิจกรรมในช่วงกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
โดยใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที โดยจัดกิจกรรมสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ จัดในช่วงเวลา 09:10 - 10:00 น. รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
3. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลอง
(posttest) โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นชุดเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบก่อนการทดลอง
4. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ โดยรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ด้านการนับ ด้านการเปรียบเทียบ และด้าน
การจัดลำดับ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับ
สมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. เด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐาน
ทางคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.33 ของความสามารถเดิมก่อนได้รับการจัดทักษะพื้นฐานทาง
คณิตศาสตร์โดยด้านการจัดลำดับเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับแรกได้คะแนนร้อยละ 78.62 รองลงมา
ด้านการนับได้คะแนนร้อยละ 58.50 และด้านการเปรียบเทียบได้คะแนนร้อยละ 46.60 ตามลำดับ
ซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมสูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น